วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562


จิตอาสาหรือจิตสาธารณะ

 Image result for จิตอาสา คือ


จิตอาสา  หรือ  จิตสาธารณะ (public consciousness หรือ  Public mind) หมายถึง จิตสำนึกเพื่อส่วนรวม เพราะคำว่า “สาธารณะ” คือ สิ่งที่มิได้เป็นของผู้หนึ่งผู้ใด จิตสาธารณะจึงเป็นความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของในสิ่งที่เป็นสาธารณะ ในสิทธิและหน้าที่ที่จะดูแล  และ บำรุงรักษาร่วมกัน 

                 จิตอาสา  หรือ  มีจิตสาธารณะ” ยังหมายรวมถึง  จิตของคนที่รู้จักความเสียสละ ความร่วมมือ ร่วมใจ ในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม เช่น การช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยการไม่ทิ้งขยะลงในแหล่งน้ำ การดูแลรักษาสาธารณสมบัติ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ หลอดไฟฟ้าที่ให้ความสว่างตามถนนหนทาง  แม้แต่การประหยัดน้ำ ประปา หรือไฟฟ้า ที่เป็นของส่วนรวม โดยใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ตลอดจนช่วยกันดูแลรักษา ให้ความช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก หรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ ตลอดจนร่วมมือกระทำเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา หรือช่วยกันแก้ปัญหา แต่ต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย เพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม 

                 ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของ จิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน 

                 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อ ประเทศชาติ มี ความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ 

                 สรุป จิตอาสา หรือจิตสาธารณะ  หรือจิตสำนึกสาธารณะ คือ  จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัว หรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง 

                 ส่วน คำว่า สาธารณะ (Public) เป็น การแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม เป็นการบริการชุมชน ทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นสิ่งของก็ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อนำสองคำมารวม หมายถึง การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

ที่มา - http://www.nitade.lpru.ac.th/2012/html/news9.html

Inline image

วันที่ 1 กันยายน 2562 มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทย

รู้สึกประทับใจที่ได้นำของไปบริจาคคนตาบอดที่ต้องการความช่วยเหลือ รู้สึกดีใจที่ได้ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคม

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

ประวัติหอไอเฟล




“ลา ตูค์ อิฟเฟล” (La Tour Eiffel) ในภาษาฝรั่งเศส หรือ หอไอเฟล ถือเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส ใครที่มาเที่ยวปารีสเป็นต้องไม่พลาดการถ่ายรูปคู่กับหอไอเฟล
ภาพสมัยการสร้างหอไอเฟลในยุคสมัยก่อน
เรามาทำความรู้จักกับหอไอเฟลกันนิดนึง หอไอเฟลเป็นหอคอยสร้างด้วยโครงเหล็ก สูงถึง 300 เมตร ตั้งอยู่บนถนน ชองป์ เดอ มารส์ บริเวณแม่น้ำแซน ในกรุงปารีส หอคอยแห่งนี้เป็นเสมือนสัญญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส ตั้งชื่อตามสถาปนิกผู้ออกแบบ คือ“กุสตาฟ ไอเฟล” เป็นวิศวกรและสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เป็นปรมาจารย์ในด้านการก่อสร้างด้วยเหล็กและมีความสามารถในการสร้างสะพาน เป็นต้นว่า สะพานข้ามแม่น้ำดูโร (Douro) ในตอนเหนือของประเทศโปรตุเกส ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสะพานที่มีช่วงกว้างที่สุดในเวลานั้น ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นงานศิลปะชิ้นเอกในงานมหกรรมแสดงสินค้านานาชาติที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นเจ้าภาพในปี ค.ศ.1890 เพื่อเฉลิมฉลองวันครบรอบ 100 ปี แห่งการปฏิวัติประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ ความร่ำรวย และความสำเร็จในยุคอุตสาหกรรมของประเทศ
หอไอเฟลในปัจจุบัน
หอไอเฟลเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส หากใครที่ได้ไปเมืองน้ำหอมแล้วไม่ได้ไปดูหอไอเฟลนี้เรียกว่ายังไปไม่ถึงก็อาจจะเป็นได้ นักท่องเที่ยวมากมายก็สนใจไปดูหอไอเฟลนี้แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าประวัติความเป็นมาของเจ้าหอไอเฟลนี้ งั้นเราไปทำความรู้จักกับประวัติความเป็นของหอไอเฟลกันค่ะ
           หอไอเฟลเป็นหอคอยเหล็กตั้งอยู่ที่ Champ de Mars ในกรุงปารีส เมืองหลวงของประเทศฝรั่งเศส หอคอยแห่งนี้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส และเป็นหนึ่งในสิ่งปลูกสร้างที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก
           หอคอยแห่งนี้ถูกตั้งชื่อตามผู้ออกแบบคือ Gustave Eiffel ทำการสร้างในระหว่างปี 1887-1889 น้ำหนักของหอไอเฟลคือ 7300 ตัน ยอดของหอคอยสามารถเบนออกจากแสงอาทิตย์ที่ส่องมายังยอดหอคอยถึง 18 เซ็นติเมตร (7นิ้ว) ทั้งนี้ขึ้นอยูกับอุณหภูมิของเหล็กด้านที่หันหน้าเข้าสู่แสงอาทตย์ซึ่งจะ ขยายตัวเนื่องจากความร้อนที่ได้รับ นอกจากนี้ตัวหอคอยแห่งนี้ยังมีการแกว่งตัวตามแรงลมอีกด้วย โดยการแกว่งตัวอยู่ที่ระดับ 6-7 เซ็นติเมตร (2-3นิ้ว)

           ในการก่อสร้างหอคอยแห่งนี้ ใช้คนงานก่อสร้างถึง 300 คน เพื่อประกอบเหล็กจำนวน 18038 ชิ้นเข้าด้วยกัน โดยใช้หมุดถึง 2.5 ล้านตัว ความเสียงที่จะเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างสูงมาก เนื่องจากหอไอเฟลแตกต่างจากตึกสูงในปัจจุบันตรงที่เป็นหอเปลือย ไม่มีจำนวนชั้น อย่างไรก็ตามมีการเตรียมตัวรักษาความปลอดภัยในการก่อสร้างอย่างเต็มที่ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุในการก่อสร้างเพียงคนเดียวเท่านั้น(จริงอ่ะป่าวเนี่ย)

           ในระหว่างการก่อสร้าง หอไอเฟลถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงรูปร่างของหอคอย Gustave Eiffel ถูกกล่าวหาว่าพยายามสร้างงานศิลปะที่ดูแล้วไม่มีศิลปะ การก่อสร้างให้หอคอยแกว่งตัวได้ไม่คำนึงถึงหลักวิศวกรรมศาสตร์(แต่เราว่ามันก็สวยดีนะ) แต่อย่างไรก็ตาม Gustave Eiffel ซึ่งมีชื่อเสียงมาจากงานก่อสร้างสะพาน กลับเป็นผู้ที่เข้าใจความสำคัญของแรงลม และเป็นผู้ที่รู้ว่าการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดในโลก(ในขณะนั้น) จะต้องแน่ใจว่ามันต้องต้านทานลมได้ และในตอนต้นศตวรรษที่ 20 หอไอเฟลถูกใช้เป็นศูนย์รับส่งสัญญานวิทยุ เมื่อปี 1909 ศูนย์วิทยุถูกก่อสร้างขึ้นอย่างถาวรที่หอไอเฟล และยังปรากฎให้เห็นในปัจจุบัน